แหล่งไม้กลายเป็นหินขนาดใหญ่ครอบคุมพื้นที่มากกว่า 30 ตารางกิโลเมตรถูกค้นพบในเขตวนอุทยานไม้กลายเป็นหิน (Bantak Petrified Forest Park) อำเภอบ้านตาก จังหวัดตาก จากการสำรวจขุดค้นพบว่าท่อนไม้กลายเป็นหินฝังตัวอยู่ใต้ชั้นกรวดยุคควอเทอร์นารีซึ่งเป็นกรวดแม่น้ำโดยพิจารณาจากความเรียบและกลมมนของเม็ดกรวด จากการสำรวจภาคพื้นดินพบท่อนไม้โผล่ให้เห็นหลายสิบท่อน และได้มีการขุดขึ้นมาเพื่อจัดแสดงและพัฒนาเป็นแหล่งท่องเที่ยวแล้วจำนวน 8 ท่อนจากจำนวน 7 หลุมขุดค้น จากการวิจัยพบว่าเป็นไม้ทองบึ้ง (Koompassioxylon elegans) จำนวน 6 ท่อน และไม้มะค่าโมง (Pahudioxylon sp.) จำนวน 2 ท่อน
ถือว่าเป็นแหล่งไม้กลายเป็นหินที่ใหญ่ที่สุดในประเทศไทย
ตั้งอยู่บริเวณท้องที่หมู่ที่ 7 ตำบลตากออกในเขตป่าสงวนแห่งชาติ ป่าแม่สลิด-
โป่งแดง ปากทางเข้าอยู่ตรงบริเวณหลักกิโลเมตรที่ 443 ทางหลวงหมายเลข 1
(ถนนหหลโยธิน) การเดินทางเข้าพื้นที่ ใช้เส้นทางลำลองตรงข้ามโรงพยาบาลบ้านตาก
ห่างจากถนนพหลโยธิน ประมาณ 2.5 กิโลเมตร ไม้กลายเป็นหินที่พบยาวประมาณ
20 เมตร และเส้นผ่านศูนย์กลางประมาณ 2 เมตร เป็นไม้กลายเป็นหินที่ใหญ่ที่สุด
ตั้งแต่มีการค้นพบในทวีปเอเชีย
โดยไม้กลายเป็นหินจัดเป็นฟอสซิลชนิดหนึ่ง
ที่เกิดขึ้นเองตามธรรมชาติ โดยเกิดจากซากต้นไม้ที่ถูกแทนที่ด้วยน้ำบาดาลซึ่งมี
สารละลายของซิลิกา และเกิดการตกตะกอนกลายสภาพเป็นหินอย่างช้ๆ คือแทนที่
แบบโมเลกุลจนกระทั่งกลายเป็นหินทั้งหมด โดยไม่มีการเปลี่ยนแปลงรูปร่างและโครงสร้างอีก
ไม้กลายเป็นหินมักฝังตัวอยู่ในชั้นกรวด คาดว่าจะเกิดสะสมตัวในยุคควอเตอร์นารีคอนตัน
อายุประมาณ 2 ล้านปี จากการแพร่กระจายตวของตะกอนตะพัก ที่ปรากฏน่าจะเกิด
สะสมตัวบริเวณตะพักคุ้งน้ำของแม่น้ำปิงโบราณ ก่อนที่จะมีการปรับสภาพและเปลี่ยน
ทางเดินกลายเป็นแม่น้ำปิงในปัจจุบัน
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น